ถังดับเพลิง อุปกรณ์สำคัญที่ช่วยควบคุม และระงับไฟในกรณีฉุกเฉิน แต่การเลือกถังดับเพลิงนั้นต้องพิจารณาเลือกให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อย่างผงเคมีแห้ง และ CO₂ เป็นถังดับเพลิงที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อให้เราสามารถใช้ถังดับเพลิงได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ มาดูการเปรียบเทียบระหว่าง ถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง vs CO₂ ว่าประเภทไหนเหมาะกับสถานการณ์ใด ควรติดตั้งบริเวณไหนเพื่อให้ปลอดภัยที่สุด !
ถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง (Dry Chemical Powder Fire Extinguisher)

ถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง เป็นถังดับเพลิงอเนกประสงค์ที่สามารถใช้ดับไฟได้หลายประเภท โดยใช้ผงเคมีแห้ง เป็นสารดับเพลิงหยุดปฏิกิริยาการเผาไหม้ เหมาะสำหรับการใช้งานในบ้านเรือน อาคารสำนักงาน โรงงาน และสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้
คุณสมบัติของถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง
- สามารถดับไฟได้หลากหลายประเภทใช้ได้กับไฟหลายประเภทอย่าง Class A, B และ C
- ใช้งานได้ง่าย และสามารถดับไฟได้รวดเร็ว
- ราคาประหยัดคุ้มค่ากว่าถังดับเพลิงประเภทอื่น
- มีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กพกพาได้ ไปจนถึงขนาดใหญ่สำหรับอาคาร
- ใช้กับไฟฟ้าแรงสูงได้ ไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้าจึงสามารถใช้ดับไฟจากอุปกรณ์ไฟฟ้าได้
ข้อเสียหรือข้อจำกัดของถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง
- ทิ้งคราบผงเคมีหลังการใช้งาน ต้องทำความสะอาดหลังจากใช้งาน
- ไม่เหมาะกับการใช้งานในห้องเซิร์ฟเวอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อาจทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสียหายได้
- กระทบต่อระบบทางเดินหายใจ เมื่อผงเคมีฟุ้งกระจายอาจทำให้แสบตา และเกิดอาการไอ
- ไม่สามารถใช้กับดับไฟจากโลหะไวไฟ (Class D) และน้ำมันทำอาหาร (Class K) ได้
- ไม่สามารถใช้ซ้ำได้หลังจากฉีดไปแล้ว ถังดับเพลิงผงเคมีแห้งเป็นแบบใช้ครั้งเดียว หากฉีดออกไปบางส่วนแล้ว ต้องนำไปเติมใหม่
ถังดับเพลิง CO₂ (Carbon Dioxide Fire Extinguisher)

ถังดับเพลิง CO₂ เป็นถังดับเพลิงที่ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์เป็นสารดับเพลิง โดยใช้หลักการลดออกซิเจน และลดอุณหภูมิของไฟ ทำให้เปลวไฟดับลงได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับการดับไฟจากอุปกรณ์ไฟฟ้า เพราะไม่มีการทิ้งคราบหลังใช้งานจึงนิยมใช้ในห้องเซิร์ฟเวอร์ ห้องควบคุมไฟฟ้า และสถานที่ที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
คุณสมบัติของถังดับเพลิง CO₂
- ดับไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ หยุดปฏิกิริยาการเผาไหม้โดยลดออกซิเจน และความร้อน
- ไม่ทิ้งคราบหลังการใช้งาน ปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
- ไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า ใช้ดับไฟจากอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูงได้อย่างปลอดภัย
- ใช้งานง่าย และปลอดภัย ไม่ต้องกังวลเรื่องเรื่องสารตกค้าง
- มีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็ก (2 กก.) ไปจนถึงขนาดใหญ่ (50 กก.)
ข้อเสียหรือข้อจำกัดของถังดับเพลิง CO₂
- ไม่เหมาะกับการดับไฟประเภท Class A วัสดุทั่วไป เมื่อ CO₂ ระเหยหมด ไฟอาจติดขึ้นมาใหม่ได้หากวัสดุยังคงมีความร้อนอยู่
- ใช้งานกลางแจ้งได้ไม่ดี ก๊าซ CO₂ ระเหยเร็วมาก หากใช้กลางแจ้ง ก๊าซอาจถูกพัดออกไปก่อนที่ไฟจะดับ
- เป็นอันตรายในพื้นที่อับอากาศ ก๊าซ CO₂ ทำงานโดย ลดระดับออกซิเจนรอบ ๆ ต้นเพลิง อาจทำให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ขาดออกซิเจน หมดสติ หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้
- ขนาด และน้ำหนักของถังดับเพลิง CO₂ ค่อนข้างหนัก เพราะมีความแข็งแรง หนากว่าถังประเภทอื่น ๆ
- ไม่สามารถใช้ซ้ำได้หลังจากฉีดไปแล้ว ถังดับเพลิง CO₂ เป็นแบบใช้ครั้งเดียว หากฉีดออกไปแล้ว ไม่สามารถเติมกลับเองได้ง่าย
ความแตกต่างระหว่างถังดับเพลิงผงเคมีแห้งและถังดับเพลิง CO₂

การเลือกถังดับเพลิงให้เหมาะกับการใช้งานเป็นสิ่งสำคัญ จะช่วยให้สามารถดับไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพปลอดภัย เพื่อให้สามารถเลือก และตัดสินใจง่ายยิ่งขึ้น เรามาดูความแตกต่างของถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง และถังดับเพลิง CO₂ ได้ดังนี้
1. สารดับเพลิงที่ใช้
- ถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง : ผงเคมีแห้ง (Mono-Ammonium Phosphate หรือ Sodium Bicarbonate)
- ถังดับเพลิง CO₂ : ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂)
2. หลักการทำงาน
- ถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง : ปิดกั้นออกซิเจน และขัดขวางปฏิกิริยาการเผาไหม้
- ถังดับเพลิง CO₂ : ลดออกซิเจนรอบ ๆ ต้นเพลิง และลดอุณหภูมิ
3. ประเภทของไฟที่ดับได้
- ถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง : Class A วัสดุทั่วไป เช่น ไม้ กระดาษ ผ้า พลาสติก Class B ของเหลวไวไฟ เช่น น้ำมัน ทินเนอร์ สี แอลกอฮอล์ และ Class C อุปกรณ์ไฟฟ้า
- ถังดับเพลิง CO₂ : Class B ของเหลวไวไฟ และ Class C อุปกรณ์ไฟฟ้า
4. การใช้งานในพื้นที่กลางแจ้ง
- ถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง : ใช้ได้ดีแม้ในที่ที่มีลมแรง
- ถังดับเพลิง CO₂ : ไม่เหมาะกับการใช้งานในกลางแจ้ง เพราะ CO₂ ระเหยเร็ว อาจทำให้ขาดอากาศหายใจ
5. ราคา
- ถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง : มีราคาถูก คุ้มค่าต่อการใช้งาน
- ถังดับเพลิง CO₂ : มีราคาสูงกว่าถังผงเคมีแห้ง
วิธีการบำรุงรักษาถังดับเพลิงของถังดับเพลิงผงเคมีแห้งและถังดับเพลิง CO₂
1. ตรวจสอบแรงดันภายในถังเป็นประจำทุกเดือน
- ถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง : ต้องตรวจดูเกจวัดแรงดัน ให้อยู่ในโซนสีเขียว หากแรงดันต่ำ ต้องเติมสารดับเพลิงใหม่
- ถังดับเพลิง CO₂ : ไม่มีเกจวัดแรงดัน ต้องใช้วิธีการชั่งน้ำหนักถัง
2. ตรวจสอบตัวถังและหัวฉีดทุกเดือน
- ตรวจหารอยบุบ รั่ว หรือสนิมที่ตัวถังและหัวฉีด
3. เช็คซีลนิรภัยและสลักล็อก
- สลักนิรภัยต้องอยู่ครบไม่มีรอยขาดหรือหายไป หากซีลหรือล็อกหายต้องตรวจสอบว่าเคยถูกใช้งานหรือไม่
4. เปลี่ยนสารดับเพลิงเมื่อครบกำหนด
- ถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง : ควรเปลี่ยนหรือเติมสารดับเพลิง ทุก 3-5 ปี
- ถังดับเพลิง CO₂ : หากน้ำหนักลดลง มากกว่า 10% ต้องเติมก๊าซใหม่
5. ตรวจสอบตำแหน่งการติดตั้ง
- ติดตั้งในตำแหน่งที่เข้าถึงง่าย ไม่มีสิ่งกีดขว้าง ไม่ให้โดนแสดงแดดโดยตรง หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง
- ควรติดตั้งถังดับเพลิงให้ อยู่ในระดับสายตา (ประมาณ 1.2 – 1.5 เมตรจากพื้น)
การเลือกถังดับเพลิงที่เหมาะสมควรพิจารณาจากการใช้งาน และประเภทของไฟที่อาจเกิดขึ้น โดยเมื่อต้องการถังดับเพลิงที่สามารถใช้งานได้อเนกประสงค์ ราคาประหยัดควรเลือกถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง แต่หากต้องการถังดับเพลิงที่ปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้า ไม่ทิ้งคราบหลังการใช้งานควรเลือกถังดับเพลิง CO₂ และในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าควรเลือกแบบไหน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ดับเพลิงอย่าง Prowinner ที่พร้อมให้คำแนะนำด้วยการบริการที่ครบวงจร ทำให้ทุกปัญหาของคุณเป็นเรื่องง่าย
☎️ Tel : 02-476-1967-9
📧 Email : [email protected]
🟢 Line ID : prowinner_2005
🟦 Facebook: prowinner